สีครามเป็นสีย้อมธรรมชาติ
ต้นคราม หรือสีคราม ที่เก่าแก่มาก ซึ่งมนุษย์รู้จักกันมามากว่า 6000 ปี ประชากรที่อาศัยในเขตร้อนของโลกล้วนเคยทำสีครามจากต้นไม้ชนิดต่างๆตามภูมิภาคนั้นๆ แต่สีครามคุณภาพดีผลิตจากเอเชีย ดังเช่น สีครามจากอินเดียเป็นที่นิยมของคนอังกฤษมากกว่าสีครามจากเยอรมันและฝรั่งเศส แต่การใช้สีครามลดลงเหลือเพียง 4% ของทั่วโลกในปี 2457
ต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2535 ประเทศของเราพบกับปัญหา มลพิษจากสิ่งแวดล้อม สาเหตุหนึ่ง เกิดจากสารเคมีสังเคราะห์ซึ่งรวมถึงสีย้อมด้วย สีย้อมผ้าส่วนใหญ่เป็นออกไซด์ของโลหะหนัก ซึ่งโลหะหนักหลายชนิดเป็นสารก่อมะเร็ง ใส่แล้วรู้สึกร้อน ดังนั้น จึงหันมานิยมสีย้อมธรรมชาติ ซึ่งในขณะ เดียวกันก็ได้นำภูมิปัญญาเก่า ๆ ที่ได้สืบทอดกันมาแต่สมัยโบราณจากเดิมเกือบลือหายไปแล้วนั้นกลับมาพัฒนาเป็นอาชีพหลักของลูกหลานในทุกวันนี้
ประวัติความเป็นมา
ประเทศไทยไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่ามีการใช้ผ้าย้อมครามตั้งแต่เมื่อใด ต้นคราม แต่มีการผลิตและใช้กันในชนเผ่าภูไท สกลนครเป็นจังหวัดแรกของประเทศไทย ที่ฟื้นฟูภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการทอผ้าย้อมคราม และพัฒนาผ้าย้อมครามให้มีมาตรฐานสามารถนำผลิตภัณฑ์ผ้าครามจากภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้าแทรกตลาดที่กำลังกลับมาบริโภคผลิตภัณฑ์ที่ปลอดสารเคมีและไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
การย้อมสีคราม เป็นการย้อมที่มีความพิเศษ และความแตกต่างจากการย้อมสีธรรมชาติอื่น ๆ แน่นอนว่าต้องเป็นสีธรรมชาติจาก ต้นคราม ซึ่งต้องอาศัยการร่วมแรงร่วมใจ ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ระหว่างคนในครอบครัวและในชุมชน เป็นการเชื่อมโยงขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมของท้องถิ่นนั้นๆเข้าด้วยกัน และส่งต่อสืบทอดภูมิปัญญา ที่แฝงจิตวิญญาณจากรุ่นสู่รุ่น
ครามจังหวัดสกลนคร สืบทอดมาจากบรรพบุรุษที่อพยพย้ายถิ่นฐานเพื่อเสาะแสวงหาพื้นที่เหมาะสมสำหรับการเพาะปลูก ตั้งรกรากปักฐาน จังหวัดสกลนคร ประกอบด้วยชนเผ่าต่าง ๆ ได้แก่ ไทญ้อ ไทโย้ย ภูไท ไทกะเลิง ไทโซ่ ไทข่า และไทลาว ชาวอีสานตอนบนมีวัฒนธรรมด้านเครื่องนุ่งห่มใช้สีดำหรือสีน้ำเงินเป็นหลัก ทุกเผ่าจะมีเสื้อผ้าสีดำหรือน้ำเงินเป็นพื้นแตกต่างกันในรายละเอียดอื่นๆเท่านั้นนิยมนำไปย้อมผ้าและมัดเป็นลายเรียกว่า ผ้าย้อมคราม